ชวน PR ไทย มาใช้ “Share of Search” วัดผล PR กัน
ในยุคดิจิทัลที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว วิธีการวัดผลแคมเปญประ […]
Share on
เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาต่อกันที่บทสรุปความคิดของงาน Public RelationSHIFT ใน 2 Sessions สุดท้ายกันได้เลย
คุณณัฐกรณ์ กล่าวว่าพฤติกรรมในการใช้ Search Engine ของคนเริ่มจากความต้องการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง ซึ่ง Data ส่วนนี้จะเข้ามาช่วยเรื่อง SEO ในด้านการทำความเข้าใจ Insight ของ User และสามารถช่วยพัฒนาการทำคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์กับ User มากขึ้น
ในปัจจุบันมีการใช้ SEO ระดับ Visual มากขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของ User ซึ่งถ้าหากผสมผสานกับการทำคอนเทนต์ที่ดีและมีประโยชน์ จะส่งผลต่ออันดับ SEO ที่ดี เนื่องจากมีคนสนใจทั้งทางด้านเนื้อหาและตอบโจทย์การค้นหา อีกทั้งพฤติกรรมการ Search ที่เปลี่ยนไปของผู้คนที่เริ่มมีการใช้ประโยคในการค้นหา เพิ่มขึ้น แทนที่การใช้คีย์เวิร์ดเพียงอย่างเดียว
จากพฤติกรรมในการใช้ Search Engine ที่มาจากความต้องการเป็นตัวกระตุ้น ทำให้สามารถเรียนรู้พฤติกรรมล่วงหน้าและคาดการณ์ Consumer Journey จากการศึกษาวิธีใช้ SEO ได้
จากการศึกษาพบว่า Traffic การเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน SEO มีเปอร์เซ็นต์อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์ต่างๆ ควรจะตระหนักถึงการทำ SEO ให้ถูกต้องและตรงกับสิ่งที่ผู้บริโภคตามหา และจะต้องเข้าใจว่า SEO ให้ผลในระยะยาว จึงควรศึกษา Traffic ในเว็บไซต์ของตัวเองรวมไปถึงการเติบโตในส่วนนั้นเช่นกัน
อนาคตของการ Search จะเปลี่ยนไปด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาออกมา เช่น ฟีเจอร์ Discover to เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ Explore สิ่งที่อัลกอริทึมจัดหามาให้ ซึ่งเป็นโอกาสใหม่ๆ ที่แบรนด์สามารถฟีดข้อมูลเข้าไปใน Search Engine เพื่อนำข้อมูลไปรองรับได้ อีกทั้งการค้นหาที่เป็น Visual มากขึ้น ทั้งรูปภาพ วิดีโอ อินโฟกราฟิก ซึ่งเป็น Edge of Assistant ที่มนุษย์ต้องการให้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยให้ชีวิตสบายมากยิ่งขึ้น เช่น การค้นหาด้วยเสียง ทำให้การทำ SEO มีความซับซ้อนและละเอียดมากขึ้น ทำให้ต้องมีการทำ Research Consumer Insight นำมาประยุกต์กับหลัก SEO ที่สามารถวัดผลได้
คุณวราลี ให้ความเห็นว่าการทำ Digital PR มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในเชิง Strategy และ Execution เพราะ Segment ที่ยิบย่อยตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งต้องใช้แพลตฟอร์มที่มีให้เลือกหลากหลายให้ถูกต้องและถ้าตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็จะเป็นการเข้าถึงคนได้มากขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอคือ PR ไม่ใช่ฝ่าย Support แต่เป็น Strategic Unit ที่สำคัญของบริษัท
คุณทอปัด แนะนำว่า PR จะต้องส่ง Message ที่มีประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ความสำคัญของคอนเทนต์ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่มีทั้งความท้าทายและโอกาสอยู่ในความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งการทำ PR เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ ซึ่งการทำงานกับ Influencer ต้องรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ และจะเกิดการทำงานที่จริงใจต่อกัน รวมไปถึงการใช้ Influencer ที่เข้ากับงานนั้นๆ หัวใจสำคัญของการทำงาน คือ Mindset ของทีมที่เห็นคุณค่าของงานที่ทำ
ในมุมมองของคุณบุณย์ญานุช การทำ PR ในยุคดิจิทัลแตกต่างจากยุคเดิมโดยสิ้นเชิง การเขียนข่าวอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คนพูดถึงแบรนด์ได้ จึงมีโจทย์ที่อยากจะทำสิ่งใหม่ๆ ไม่เดินตามเกมคนอื่น มองสื่อดิจิทัลให้เป็นโอกาส จึงเกิดเป็นคอนเทนต์ในโลกโซเชียลที่สามารถครอบครองพื้นที่สื่อ ซึ่งเป็นการลองผิดลองถูกจากพื้นที่ความว่างเปล่าตรงนั้น ปรับเปลี่ยนมันให้กลายเป็นโอกาส บวกกับการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้คนเห็นว่าเรามีทิศทางจะไปทางไหน แบรนด์จะสามารถประสบความสำเร็จได้